วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การเขียนแบบ

ความสำคัญของการเขียนแบบ

 งานเขียนแบบเป็นหัวใจของงานช่างทุกชนิด
 เพื่อแสดงรูปร่างและลักษณะของสิ่งที่ต้องการผลิตหรือแสดงออกมา
 และแสดงให้เห็นภาพของสิ่งที่ต้องการผลิตอย่างแจ่มชัด

กำเนิดของการเขียนแบบ
 การเขียนแบบสันนิษฐานว่า เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
 สังเกตจากถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์
 ในอดีตจะบันทึกโดยการเขียนเส้นหรือภาพไว้บนก้อนหิน ผนังถ้ำ

ลักษณะอาชีพงานเขียนแบบ แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑. การเขียนแบบทางวิศวกรรม ( Engineering Drawing )

๒. การเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม ( Architectural Drawing )

การเขียนแบบทางวิศวกรรม
๑. การเขียนแบบทางวิศวกรรม ( Engineering Drawing ) นำเอาไปใช้ในงานเครื่องจักรกลมากกว่าอย่างอื่น การเขียนแบบชนิดนี้แยกออกเป็น 5 ประเภท ชนิดของการเขียนแบบทางวิศวกรรม
๑.๑ การเขียนแบบเครื่องกล
๑.๒ การเขียนแบบงานไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า
๑.๓ การเขียนแบบเครื่องยนต์
๑.๔ การเขียนแบบงานแผนที่และช่างสำรวจ
๑.๕ การเขียนแบบงานช่างกลและโลหะแผ่น การเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม

๒. การเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม ( Architectural Drawing ) เป็นการเขียนแบบทางด้านก่อสร้าง แยกงานเขียนแบบชนิดนี้ออกได้ 3 ประเภท ชนิดของการเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม
๒.๑ การเขียนแบบโครงสร้าง
๒.๒ การเขียนแบบสัดส่วนของรูปต่างๆ
๒.๓ การเขียนแบบภาพหวัด

การร่างแบบ
 การร่างภาพของแบบที่จะทำการออกแบบนั้นๆอย่างหยาบ
 ควรจะทำการร่างหลายๆแบบเพื่อจะได้มีโอกาสเลือกว่าแบบไหนดีที่สุด
 จะได้นำมาปรับปรุงให้ได้แบบร่างที่ดีที่สุดตามวัตถุประสงค์
 เราร่างแบบ เพื่อจะได้แบบร่างที่ต้องการตามเป้าหมายซึ่งเป็นขั้นแรกก่อนที่จะทำการเขียนแบบจริง

การเขียนแบบ
 การเขียนรูปลงในกระดาษเขียนแบบ
 มีคำอธิบายไว้ในแบบ โดยการเขียนรูปสัญลักษณ์ หรือเส้นลงไว้ในแบบ
 การเขียนแบบเทคนิค เป็นวิชาที่ต้องมีความรู้ทางทฤษฎีประกอบ
 การเขียนภาพสเก็ตซ์ให้มาเป็นภาพเขียนแบบเทคนิคที่จะนำมาใช้ในการผลิตและสร้างในการสเก็ตซ์ภาพหรือเขียนแบบที่กำหนดให้มีมาตราส่วนและแสดงรายละเอียด
 จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ในสำหรับเขียนแบบเพื่อให้ได้ผลงานเรียบร้อยรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการเขียน
เครื่องมือเขียนแบบ
◦ กระดานหรือโต๊ะเขียนแบบ
◦ ไม้ฉากรูปตัวที
◦ ฉากสามเหลี่ยม
◦ วงเวียน
◦ ดินสอดำหรือดินสอเขียนแบบ
◦ ยางลบ
◦ กระดาษเขียนแบบ
◦ ผ้ายางหรือเทปกาว
◦ บรรทัดโค้ง
◦ บรรทัดสเกล
๑. โต๊ะเขียนแบบ หรือกระดานเขียนแบบ ( Drawing Board )
 ใช้รองกระดาษเขียนแบบ ในกรณีที่ไม่มีโต๊ะเขียนแบบ ให้ใช้กระดานเขียนแบบแทนก็ได้
๒. ไม้ฉากรูปตัวที ( T - Square )
 มีลักษณะคล้ายรูปตัว T มี
 มี 2 ส่วน 1. ส่วนหัว ( Fixed Head ) 2. ส่วนตัวไม้ทีประกบกันเป็นมุม ๙๐ องศา
 ใช้สำหรับเขียนเส้นตรงในแนวนอน หรือเส้นระดับอย่างเดียวเท่านั้น
 ใช้ร่วมกับโต๊ะเขียนแบบหรือกระดานเขียนแบบ
 ใช้ร่วมกับฉากสามเหลี่ยม (Set - Square)สำหรับลากเส้นให้เป็นมุมต่างๆ
 การเขียนเส้นนอนต้องลากเส้นจากซ้ายไปขวาเสมอ
 ในขณะที่ลากเส้น ควรหมุนดินสอไปด้วย ซึ่งจะช่วยรักษาปลายไส้ดินสอเป็นกรวยแหลม



๓. ฉากสามเหลี่ยม ( Set - Square )
 ชุดหนึ่งมีอยู่ ๒ แบบ อันแรกเรียกว่า ฉาก ๓๐ ๖๐, และ ๙๐ องศา อันที่ ๒ เรียกว่า ฉาก ๔๕, ๔๕, และ ๙๐ องศา
 ใช้ร่วมควบคู่กับไม้ฉากทีทุกครั้ง ในขณะทำการปฏิบัติงานเขียนแบบ ฉากสามเหลี่ยมใช้สำหรับเขียนเส้นตรงในแนวดิ่ง และเส้นเอียงทำมุมต่างๆ
 เวลาเขียนเส้นดิ่งให้ลากดินสอขึ้นไปตามแนวดิ่ง
 จับดินสอให้เอนไปในทิศทางของการลากเส้น
๔. วงเวียน
 เป็นอุปกรณ์สำหรับเขียนวงกลม หรือส่วนโค้ง
 การเขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง ให้ปรับขาวงเวียนที่เป็นเหล็กแหลม ให้ยาวกว่าข้างที่เป็นไส้ดินสอเล็กน้อย  ใช้ปลายแหลม ปักลงตรงจุดที่กำหนดให้เป็นศูนย์กลางของวงกลม
 ปรับขาวงเวียนจนกางได้ระยะเท่ากับรัศมีที่ต้องการจับก้านวงเวียนไว้
 หมุนวงเวียนเอนไปในทิศทางของการลากเส้นเล็กน้อย

๕. ดินสอดำ หรือดินสอเขียนแบบ ( Drawing Pencil )
 ดินสอเขียนแบบทำด้วยไส้ดินสอที่มีระดับความแข็งต่างกัน
 ดินสอที่ใช้ในการเขียนแบบ ควรมีความอ่อนแข็งดังนี้ ๒H, ๓H, H, HB
 ดินสอที่มีไส้อ่อนได้แก่เกรด F, HB ไส้ขนาดกลาง H – ๒H ไส้แข็ง ๔H – ๕H ในงานเขียนแบบปัจจุบันนี้นิยมใช้ดินสอกด เพราะมีความยาวคงที่ บรรจุไส้ใหม่สะดวก ทำให้งานสะอาด ไม่สกปรก

๖. ยางลบ
 ควรเป็นยางลบชนิดนุ่มๆมีคุณภาพ ใช้ลบดินสอดำที่เขียนผิด หรือลบในสิ่งที่ต้องการจะลบ

๗. กระดาษเขียนแบบ
 มีทั้งขนาดความหนา ๘๐ ปอนด์ ถึง ๑๐๐ ปอนด์ เป็นชนิดไม่มีเส้น
 ขนาดความกว้างความยาว แล้วแต่จะต้องการเขียนหรือใช้
 วางขอบกระดาษต้องไม่สูงหรือต่ำเกินไป
 วางให้ห่างจากขอบโต๊ะเขียนแบบทางด้านซ้ายมือประมาณ ๑ ผ่ามือ
 นำไม้ฉากที มาวางโดยให้หัวของไม้ฉากทีแนบชิดกับขอบโต๊ะ
 ใช้ฉากสามเหลี่ยม วางบนขอบบรรทัดไม้ฉากที
 ติดมุมกระดาษเขียนแบบทั้ง ๔ ด้าน ด้วยกระดาษกาวหรือเทปใส (Scottape)
 เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำไปใช้ในการเขียนแบบต่อไป

๘. ผ้ายาง หรือเทปกาว ( Scotch Tape )
 ใช้ติดกระดาษเขียนแบบกับโต๊ะเขียนแบบ หรือกระดานเขียนแบบ
 ให้แน่นในขณะเขียนแบบทุกครั้งเพื่อป้องกันกระดาษเลื่อน การติดนั้น ต้องติดขวางมุมกระดาษเขียนแบบทั้ง ๔ มุมกระดาษ

๙. บรรทัดโค้ง ( Irregular Curves )
บรรทัดโค้งใช้สำหรับเขียนเส้นโค้งที่วงเวียนไม่สามารถเขียนได้
 โดยทำการจุดไว้ให้ได้ ๓ จุด แล้วลากเส้นผ่านตามจุดนั้นๆ ตามบรรทัดโค้งเลื่อนบรรทัดโค้งความโค้งตามไปครั้งละ ๓ จุด จนกว่าจะได้รูปตามต้องการ

๑๐. บรรทัดสเกล ( Scale )
 ใช้สำหรับย่อส่วนตามต้องการ
 มีลักษณะเป็นแท่งสามเหลี่ยม ๖ ด้าน
 ในแต่ละด้านจะมีมาตราส่วนย่อไว้ดังนี้ ๑ : ๒๐, ๑ : ๒๕, ๑ : ๕๐, ๑ : ๗๕, ๑ : ๑๐๐


การเขียนแบบภาพ (Pictorial Drawing)
• การเขียนแบบที่เป็นรูป 3 มิติ
• ใช้สำหรับเขียนประกอบเพื่อให้ดูเข้าใจง่าย
• ไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับสร้างชิ้นงานที่มีความสลับซับซ้อน
• การเขียนแบบภาพมี 3 แบบ ชนิดของการเขียนแบบภาพ
• การเขียนแบบภาพ แบบ Oblique
• การเขียนแบบภาพ แบบ Isometric
• การเขียนแบบภาพ แบบPerspective การเขียนแบบภาพแบบ Oblique
• เป็นแบบภาพ 3 มิติที่มองเห็นรูปร่างลักษณะเหมือนของจริง
• ด้านหน้าเป็นแนวตรงเป็นมุมฉากเหมือนภาพฉาย
• สามารถจัดขนาดได้ ส่วนด้านลึกจะทำมุมต่างกันกับเส้นระดับ
• มุมที่ใช้มักจะใช้มุม 45 องศา การเขียนแบบภาพแบบ Isometric
• เป็นแบบภาพ 3 มิติมองเห็นรูปร่างลักษณะเหมือนของจริง
• แนวแกนกลางจะตั้งตรง
• ส่วนด้านหน้าและด้านข้างจะทำมุม 30 องศากับเส้นระดับ การเขียนแบบภาพแบบ Perspective
• เป็นแบบรูป 3 มิติเหมือนรูปถ่าย
• ใช้เขียนประกอบเพื่อแสดงแบบเหมือนของจริง
• แบบ Perspective มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ - แบบจุดรวมสายตา 1 จุด - แบบจุดรวมสายตา 2 จุด - แบบจุดรวมสายตา 3 จุด แบบใช้งาน แบบใช้งาน (Working Drawin)
• เป็นแบบที่ใช้เขียนในงานผลิตทุกชนิด
• เพราะแบบใช้งานที่ได้แสดงรายละเอียดของด้านต่างๆไว้อย่างชัดเจน และถูกต้อง แบบฉาย
• เป็นแบบภาพ 2 มิติ ตามแนวตรงเป็นมุมฉาก
• การแสดงรายละเอียดนั้นต้องมีอย่างน้อย 2 ด้าน
• ภาพแสดงด้านต่างแบบเต็มขนาดคือ ขนาดเท่าของจริง
• ใช้มาตราส่วนย่อหรือขยายก็ได้แต่ต้องบอกไว้อย่างชัดเจน
• มีตัวเลขหรือตัวอักษรประกอบเพื่อให้ทราบรายละเอียดต่างๆ
• มีรายการวัสดุที่ใช้โดยละเอียด มาตราส่วนที่ใช้ในการเขียนแบบ
• มาตราส่วนที่ใช้ในการเขียนแบบโดยทั่วไปมี 3 ชนิดด้วยกัน คือ – มาตราส่วนเท่าของจริง 1 : 1 – มาตราส่วนย่อย 1 : 2, 1 : 5, 1 : 10, 1 : 20, 1 : 100, 1 : 200, 1 : 500, 1 : 1000 – มาตราส่วนขยาย 2 : 1, 5 : 1, 10 : 1


ตัวอย่างสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ







สรุป งานเขียนแบบเป็นหัวใจของงานช่างทุกชนิด เพื่อแสดงรูปร่างและลักษณะสิ่งที่ต้องการแสดงและผลิตออกมาอย่างเห็นได้ชัด โดยอาศัยเครื่องมือและสัญลักษณ์ในการเขียนแบบ